AI&Iot Summit 2023 – conferencethaiseries
skip to Main Content

วัตถุประสงค์

    • เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรมใหม่ของ AI & IoT ให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
    • เพื่อนำเสนอแนวทางประยุกต์ใช้ AI IoT เพื่อเพิ่มระดับผลิตภาพของทุกอุตสาหกรรม ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ
    • เพื่อสร้างความตระหนัก เข้าใจถึงวิถีการทำงานของเทคโนโลยี สามารถลงทุนได้อย่างเหมาะสม

ระยะเวลาในการจัดงาน

วันที่ 29 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สถานที่การจัดงาน

ณ ห้องประชุม Mayfair Ballroom C ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ

ในระยะเวลาที่ผ่านมา เราอาจได้ยินได้ฟังเรื่องยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศกันในรูปแบบที่หลากหลาย หลังจากที่รัฐบาลชุดนี้ได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้พยายามผลักดันยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาในหลายมิติ สำหรับ Thailand 4.0 หรือ เศรษฐกิจดิจิทัลที่เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาผนวกกับอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแยกจากกันไม่ได้ เหล่าผู้เล่นต้องอาศัย Big Data ในการช่วยวิเคราะห์ตลาดเพื่อกำหนดกลยุทธ์อย่างแม่นยำ ดังนั้นยุทธศาตร์ของหลายประเทศจึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบ Cloud Computing, Internet of Things (IoT), Robotics และ AI เพราะใครกุมเทคโนโลยีเหล่านี้ย่อมหมายถึงโอกาสในการพิชิตคู่แข่งในตลาดและผงาดเป็นผู้นำโลกอย่างแท้จริง เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตแนวโน้มลดลง เพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงเป็นธรรมดา แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและได้รับความสนใจน้อยคือกำลังจะเกิดความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีได้เข้ามาทำลายวิธีการทำมาหากินแบบเดิม หากเราไม่ปรับตัวจะถูกแย่งมูลค่าเพิ่มการผลิต หรือกำไรจากต่างประเทศไป ดังเช่น อุตสาหกรรมสื่อ อุตสาหกรรมพาณิชย์ อุตสาหกรรมการเงิน การขนส่ง เรียกได้ว่าแทบไม่มีอุตสาหกรรมไหนจะนิ่งเฉยได้อีกต่อไป ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวกันมากขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ได้ปรับตัวบางส่วนแล้ว แต่ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนหนึ่งยังไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเกิดขึ้น ส่วนที่ทราบแล้วยังทำไม่ได้ เพราะมีทรัพยากรน้อย ดังนั้น ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนในการปรับตัวด้วยการวางกลยุทธ์ของประเทศพิจารณาการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางเทคโนโลยีแต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการวางยุทธศาสตร์และลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence: AI อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้พิจารณาในแง่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีบางส่วนแล้ว แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ขับเคลื่อนไปไม่ถึงที่สุด ยังคิดไม่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างกำลังคน หรือกำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญ คือยุทธศาสตร์ของประเทศในการนำ AI มาใช้ในวงกว้าง ดังนั้นต้องต่อยอดนโยบายให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ในเวลาเดียวกันควรผลักดันให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจแบบใหม่ที่คนได้รับการทดแทนจากเทคโนโลยี คือเศรษฐกิจที่มีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น และเศรษฐกิจที่มีความใส่ใจมากขึ้น ภาครัฐต้องเตรียมกลไกต่าง ๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นทักษะแรงงาน การศึกษาพื้นฐาน การสร้างสวัสดิการสังคม และกฎระเบียบของรัฐ ซึ่งประการหลังมีความสำคัญมาก ประชาชนและภาคธุรกิจหลายสาขาอยากปรับตัว แต่เมื่อจะทำธุรกิจใหม่ กลับติดขัดเรื่องกฎระเบียบที่ล่าช้า ซึ่งออกมาจากทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงเป็นอุปสรรคในการปรับตัวได้ยาก AI + IoT ในโลกที่ทุกสิ่งเชื่อมถึงกัน ในอนาคตไม่ใช่เพียงแค่ 5G เท่านั้นที่จะมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ เพราะ 5G เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยี IoT Internet of Things และ AI Artificial Intelligence ที่อาจส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมภาคแรงงานทั่วโลกครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์

  • การสัมมนาวิชาการพร้อมรับฟังปาฐกถาพิเศษ และเสวนาระดับสูง
  • การชมส่วนแสดงนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
  • การเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐ และเอกชน
  • การสัมมนาวิชาการนำเสนอหัวข้อเทคโนโลยีและโซลูชั่น
  1. ความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ในการเดินหน้าการใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  2. เกิดแนวคิดในการร่วมพัฒนาบุคลากรในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทักษะที่สำคัญ และเพื่อสนองรับแนวโน้มเทคโนโลยีอนาคตโลก
  3. เพิ่มระดับผลิตภาพของทุกอุตสาหกรรม พัฒนาศักยภาพของแรงงานทั้งเชิงเทคนิคและเชิงเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคมๆ
  4. ส่งเสริมให้การใช้งานดิจิทัล เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน

เอกสารดาวน์โหลด

รายละเอียดโครงการ AI IoT Summit
กำหนดการโครงการ AI IoTs Summit 2024

งบประมาณค่าใช้จ่าย

สำหรับหน่วยงานข้าราชการโดยผู้เข้ารับการอบรมสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการศึกษาอบรมตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๒๘ (๑) และข้าราชการสามารถเบิกค่าลงทะเบียนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสำหรับหน่วยงานเอกชน สามารถติดต่อขอรับ Invoice ใบแจ้งหนี้ เพื่อทำการเบิกจ่ายกับทางต้นสังกัดได้ที่อีเมล apinya@absolutealliances.com

วิธีชําระค่าลงทะเบียน

  1. กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มการลงทะเบียน
  2. แนบเอกสารการชำระเงิน (Pay in slip) ส่งกลับมาที่ 02-661-7757 (แฟกซ์อัตโนมัติ) หรือ อีเมล apinya@absolutealliances.com
  3. ชำระค่าลงทะเบียนโดยโอนเงินค่าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันประชุมสัมมนาฯ เข้าชื่อบัญชี บริษัท แอ๊บโซลูทท์ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
    • ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ สาขาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เลขที่บัญชี 085-0-12124-8
    • ธนาคารกรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์ สาขาถนนอโศกมนตรี เลขที่บัญชี 925-0-07304-7
    • ธนาคารกสิกรไทย บัญชีออมทรัพย์ สาขา สุขุมวิท 33 (บางกะปิ) เลขที่บัญชี 003-2-42408-4

หมายเหตุ: สามารถชำระค่าลงทะเบียนก่อนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 และการยกเลิกการลงทะเบียนจะสมบูรณ์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น และทำการยกเลิกก่อนวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 (ผู้ร่วมสัมมนาจะไม่ได้รับค่าลงทะเบียนคืนแต่คงสิทธิ์ที่จะได้รับกระเป๋าและเอกสารประกอบการสัมมนา)

ร่วมจัดโดย

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

เลขานุการการจัดงาน และบริหารการจัดงานโดย สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)
159/21 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ ซอย 21 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 0-2661-7750 ต่อ 221, 222, 223 โทรสาร 0-2661-7757
อีเมล: Arisbella@absolutealliances.com

Back To Top